Sunday, April 22, 2012

นกเด้าลมดง (Forest Wagtail)

นกเด้าลมดง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Forest Wagtail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendronanthus indicus

นกเด้าลมดง @ จ.สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกเด้าลมดง (Forest Wagtail)
นกเด้าลมดง มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ จีน เกาหลี และบางส่วนของไซบีเรีย ในช่วงฤดูหนาวนกเด้าลมดงจะอพยพหนีหนาวมายังบริเวณที่อบอุ่นกว่า บริเวณตอนใต้ของทวีปเอเชีย เช่นประเทศอินเดีย ศรีลังกา และประเทศอื่น ๆ โดยนกจะเริ่มอพยพลงใต้ช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม ของทุกปี และจะอยู่จนถึงประมาณกลางเดือนเมษายน ก็จะอพยพกลับ

นกเด้าลมดง ที่พบในประเทศน่าจะเป็นได้ทั้ง นกอพยพ (Winter visitor) หรือนกที่อพยพผ่าน (Passage migrant) โดยพบจะพบประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม (ช่วงขาลง) ถึงเดือนเมษายน (ช่วงขาขึ้น) ของทุกปี ตามสวนสาธารณะหรือตามป่าโปร่ง

ลักษณะเด่นของนกเด้าลมดงคือจะเดินส่ายหางขวา-ซ้าย และเดินอย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะวิ่งหรือบินได้ทันที (ไม่ค่อยอยู่นิ่ง) ทำให้การถ่ายภาพนกชนิดนี้จะต้องอาศัยความรวดเร็วครับ  

Forest Wagtail @ Sumut Prakan Province, Thailand

Sunday, April 15, 2012

นกนางนวลแกลบเล็ก (Little Tern)

นกนางนวลแกลบเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Tern; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sternula albifrons

นกนางนวลแกลบเล็ก @ จ.ประจวบคีรีขันธ์, ประเทศไทย

เล่นน้ำกันอย่างสนุก
ไปเที่ยวหัวหินช่วงวันหยุดสงกรานต์ ระหว่างรอลงเล่นน้ำทะเล ได้ยินเสียงนกร้อง มองลงไป เห็นนกนางนวลแกลบเล็ก (Little Tern) 3 ตัว กำลังเล่นน้ำอยู่ที่ชายหาดกันอย่างสนุก เลยได้โอกาสเข้าไปเก็บภาพใกล้ ๆ

Little Tern @ Prachuap Khiri Khan Province, Thailand

ระยะทางห่างหมื่นไมล์     ออกบินไปคงต้องถึง

Little Tern @ Prachuap Khiri Khan Province, Thailand

Little Tern
Little Tern in flight at Hua Hin Beach.

Saturday, April 14, 2012

นกกาน้ำเล็ก (Little Cormorant)

นกกาน้ำเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Cormorant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Microcarbo niger

นกกาน้ำเล็ก @ จ.สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกที่พบป้อมพระจุลจอมเกล้า
  1. นกกินเปี้ยว (Collared Kingfisher)
  2. นกกระเต็นหัวดำ (Black-capped Kingfisher)
  3. นกกาน้ำเล็ก (Little Cormorant)
  4. นกยางเปีย (Little Egret)
  5. นกเด้าลมดง (Forest Wagtail) 

Little Cormorant @ Samut Prakan Province, Thailand

นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow)

นกนางแอ่นบ้าน
ชื่อภาษาอังกฤษ: Barn Swallow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hirundo rustica

นกนางแอ่นบ้าน @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

นกนางแอ่นบ้าน เกาะพักผ่อนบนสายไฟฟ้า

Barn Swallow @ Bangkok, Thailand

นกยางเปีย (Little Egret)

นกยางเปีย
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Egret; ชื่อวิทยาศาสตร์: Egretta garzetta

นกยางเปีย @ สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกยางเปียถ่ายที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้

Little Egret @ Samut Prakan Province, Thailand
 

Saturday, April 7, 2012

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia) April 2012

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain Prinia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prinia inornata

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ @ กรุงเทพม, ประเทศไทย

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ
ได้ยินเสียงนกกำลังร้องเพลง (เพราะมาก) เลยเดินไปตามทิศของเสียงร้องนั้น ก็พบกับเจ้าของเสียงร้อง นกกระจิบหญ้าสีเรียบ นกตัวเล็ก ๆ ที่มีน้ำเสียงสดใสไม่ธรรมดา

Plain Prinia @ Bangkok, Thailand

Friday, April 6, 2012

นกขมิ้นน้อยธรรมดา (Common Iora) และ กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification)

นกขมิ้นน้อยธรรมดา
ชื่อภาษาอังกฤษ: Common Iora; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aegithina tiphia

1. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification)

กำลังขยายของเลนส์ (Magnification) คือความสามารถในการดึงภาพวัตถุระยะไกลให้ดูเหมือนอยู่ในระยะไกล้ขึ้น เช่น กล้องส่องทางไกล (Telescope) หรือ กล้องสองตา (Binoculars) จะระบุกำลังขยายเป็นจำนวนเท่า เช่น กล้องสองตาขนาด 10x (10 เท่า) เมื่อนำมาดูนกเกาะอยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกตัวนั้นอยู่ห่างเพียงแค่ 10 เมตร (100 ÷ 10 = 10) แต่ถ้าเราใช้กล้องสองตาขนาด 25x (25 เท่า) ก็จะเห็นเหมือนกับนกอยู่ห่างเพียงแค่ 4 เมตร (100 ÷ 25 = 4) 

นกขมิ้นน้อยธรรมดา @ กรุงเทพ,ประเทศไทย
2. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification) เมื่อใช้กับกล้องแบบ FX 

สำหรับเลนส์กล้องถ่ายภาพ ไม่ได้ระบุกำลังขยายโดยตรงเหมือนกับกล้องส่องทางไกล (Telescope) หรือ กล้องสองตา (Binoculars) แต่จะระบุเป็นระยะโฟกัส (Focal length) เช่นเลนส์ขนาด 300mm, 400mm, หรือ 500mm อย่างไรก็ตามเราสามารถหากำลังขยายของเลนส์ได้ โดยการนำระยะโฟกัสของเลนส์ตัวนั้นมาหารด้วย 50 

เช่น เลนส์ขนาด 400mm จะมีกำลังขยายประมาณ 8x (400 ÷ 50 = 8) ดังนั้น ถ้านำเลนส์ตัวนี้ไปถ่ายนกที่เกาะห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนกับว่านกอยู่ห่างจากเรา 12.5 เมตร (100 ÷ 8 = 12.5)

แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลนส์ขนาด 500mm ก็จะมีกำลังขยายประมาณ 10x (500 ÷ 50 = 10) ถ้านำไปถ่ายนกที่เกาะห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนกับว่านกอยู่ห่างจากเรา 10 เมตร (100 ÷ 10 = 10) 

สำหรับเลข 50 ที่ใช้ในการหากำลังขยายของเลนส์ นั้น ได้มาจากขนาดเส้นทแยงมุม (Diagonal) ของเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full-frame (24mm x 36 mm) ซึ่งมีขนาดเส้นทแยงมุมเท่ากับ 43.2 มม.
 
สรุป เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส (Focal length) มากขึ้น จะกำลังขยายของเลนส์ (Magnification) มากขึ้นด้วย
3. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification) เมื่อใช้กับกล้องแบบ DX

สำหรับเซ็นเซอร์กล้องแบบ DX ที่ผมใช้เซ็นเซอร์รับภาพเป็นแบบ APS-C (Advanced Photo System Classic Format) มีขนาด 15.6mm x 23.5 mm ซึ่งมีขนาดเส้นทแยงมุม 28.2 มม. เล็กกว่าเซ็นเซอร์แบบ Full-frame 

ดังนั้น ถ้าใช้เลนส์ขนาด 400mm กับกล้องตัวนี้ พบว่าจะได้กำลังขยายประมาณ 14x (400 ÷ 28.2 = 14.1) ถ้าถ่ายนกที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกอยู่ห่างเพียง 7.05 เมตร (100 ÷ 14 = 7.05)

แต่ถ้าเราเปลี่ยนเป็นเลนส์ขนาด 500mm ก็จะมีกำลังขยายประมาณ 18x (500 ÷ 28.2 = 17.7) ดังนั้น ถ้าถ่ายนกที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกอยู่ห่างเพียง 5.6 เมตร (100 ÷ 17.7 = 5.6) 

จะเห็นได้ว่ากล้องแบบ DX ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ APS-C เส้นทแยงมุม 28.2 มม. จะมีกำลังขยาย (Magnification factor) มากว่ากล้องแบบ FX ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full-Frame เส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์ 43.2 มม. โดยกำลังขยายของกล้องแบบ DX จะมากว่ากล้องแบบ FX ประมาณ 43.2 ÷ 28.2 = 1.5 เท่า

สรุป เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส (Focal length) เท่ากัน ถ้าใช้กับเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กกว่า จะกำลังขยายของเลนส์ (Magnification) มากกว่า

4. เมื่อนำภาพมาขาย

เมื่อเรานำภาพนกที่ถ่ายจากกล้อง DX กับเลนส์ขนาด 400 มม. มาขยายเป็นภาพขนาดสูง 4 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว (4” x 6”) หรือ (102 mm x 152 mm) เท่ากับเราขยายภาพจากเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาด (15.6mm x 23.5 mm) ไปอีก 6.5 เท่า (102 ÷ 15.6 = 6.5 และ 152 ÷ 23.5 = 6.5) ดังนั้นภาพนกบนรูปขนาด (4” x 6”) จะเหมือนว่านกอยู่ห่างจากเรา 1.07 เมตร (7.05 ÷ 6.5 = 1.07)
 


Common Iora @ Bangkok, Thailand
Common Lora
In the morning, this Common Iora flies very close to me and perch close by.
นกขมิ้นน้อยธรรมดา ตัวนี้บินเข้ามาเกาะกิ่งไม้ใกล้มาก ๆ แถมยังใจดีอยู่ให้ถ่ายจนครบทุกมุม